วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายในคดีอาญา

 


                  
                   หากท่านติดตามข่าวสารทางสื่อต่างๆไม่ว่าจะเป็น หนังสือพิมพ์   วิทยุ   โทรทัศน์
จะพบว่าในแต่ละวันจะมีข่าวอาชญากรรม  และการกระทำความผิดทางอาญาเกิดขึ้นแทบจะทุกวัน
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เคราะห์ร้ายผู้ตกเป็นเหยื่อแห่งผลของการกระทำนั้น ซึ่งกฎหมายเรียกว่า ผู้เสียหาย[๑] และรัฐมีหน้าที่ต้องนำตัว      ผู้กระทำผิดมาลงโทษเพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง โทษตามประมวลกฎหมายอาญาที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิด มี  ประเภท  คือ ประหารชีวิต  จำคุก  กักขัง ปรับ  และ ริบทรัพย์สิน นอกจากการลงโทษทางอาญาแก่ผู้กระทำผิดแล้ว ผู้เสียหายยังมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่งที่ตนได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดอาญาอีกด้วย  ก่อนวันที่ ๓๑  ธันวาคม  ๒๕๔๘  กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางในการเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งจากการกระทำความผิดอาญาไว้    แนวทาง  คือ
                   แนวทางที่ . คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ผู้เสียหายจะฟ้องร้องต่อศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาหรือต่อศาลที่มีอำนาจชำระคดีแพ่งก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (.วิ..) มาตรา ๔๐[๒]  
                   แนวทางที่  .   คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์เรียกทรัพย์สิน หรือ ราคา แทน
ผู้เสียหาย  ในฐานความผิด ๙ ฐาน  คือ  ลักทรัพย์  วิ่งราว  ชิงทรัพย์  ปล้นทรัพย์  โจรสลัด  กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอก หรือรับของโจร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (.วิ..)มาตรา ๔๓[๓] 

                   เนื่องจากแนวทางทั้ง  ๒  ประการข้างต้น  ยังไม่สามารถบรรเทาความเดือดร้อน
เสียหายแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิดหรือผู้เสียหายได้ เพราะมีข้อจำกัดบางประการ เช่น  กรณีการใช้สิทธิฟ้องร้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม  ป.วิ.มาตรา  ๔๐  ผู้เสียหายต้องรับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ เพิ่มขึ้น  เช่น  ค่าทนายความ  ค่าธรรมเนียมศาล อีกทั้งการพิจารณาคดีต้องใช้เวลาในการพิจารณายาวนาน ผู้เสียหายอาจไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายได้ทันท่วงที  หรือ กรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.. มาตรา ๔๓ กฎหมายกำหนดให้อัยการเรียกร้องค่าเสียหายที่เป็นทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปจากการกระทำความผิดโดยตรงเท่านั้น  จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายอย่างอื่น  เช่น  ดอกเบี้ย    ค่าแรงงาน  ค่าจ้าง  ไม่ได้ เพราะกฎหมายถือว่าค่าเสียหายดังกล่าวมิใช่ทรัพย์หรือราคาที่สูญเสียไปจากการกระทำผิด  หากผู้เสียหายต้องการเรียกร้องเอาค่าเสียหายดังกล่าวคืนต้องไปฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาตาม ป.วิ..มาตรา ๔๐ ต่อไป  อีกทั้งฐานความผิดที่กฎหมายให้อำนาจแก่พนักงานอัยการเรียกเอาทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายก็กำหนดไว้เพียง ๙ ฐานความผิด  เท่านั้นหากเป็นความผิดฐานอื่นนอกจากนี้แล้วพนักงานอัยการไม่สามารถเรียกร้องแทนผู้เสียหายได้
                   อย่างไรก็ดีความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับในคดีอาญามิได้จำกัดเฉพาะฐานความผิดตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.. มาตรา ๔๓ เท่านั้น และความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับมิได้เป็นเรื่องทรัพย์สินเท่านั้น  เพราะยังมีความผิดและความเสียหายเพราะเหตุได้รับอันตรายต่อ  ชีวิต  ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงและทรัพย์สินอีกหลายฐานความผิดที่ผู้เสียหายควรได้รับการเยียวยา ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเฉพาะให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เขาสูญเสียไปโดยตรงเท่านั้น แม้ผู้เสียหายจะมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๐ ประกอบมาตรา ๔๓๘[๔] ก็ตาม ผู้เสียหายต้องไปยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งต่างหากทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีและได้รับการเยียวยาล่าช้า
                   เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นนับแต่วันที่  ๓๑   ธันวาคม  ๒๕๔๘   เป็นต้นไป ผู้เสียหายสามารถยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาทุกฐานความผิดบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เป็นผลจากการกระทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่ ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง และทรัพย์สิน ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สำคัญตาม มาตรา ๔๔/[๕]  ดังนี้
                   ผู้เสียหายที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
แก่ตนได้ต้องเป็นคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์หรือคดีที่ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการเท่านั้น หากเป็นกรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๘ () ผู้เสียหายไม่สามารถยื่นคำร้องตามมาตรา ๔๔/๑ ได้ ทั้งนี้เนื่องจากหากผู้เสียหายยื่นฟ้องคดีเองย่อมมีอำนาจร้องขอบังคับให้ชดใช้ตามมาตรา ๔๐ ได้อยู่แล้ว ในกรณีผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.. มาตรา ๕ ()[๖] แม้จะมีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เสียหายได้ ถ้าไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนก็ไม่สามารถยื่นคำร้องขอต่อศาลได้ เช่นกัน
                   . คำร้องขอค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.. มาตรา ๔๔/๑ สามารถยื่นต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญา ก่อนเริ่มทำการสืบพยาน หรือในกรณีที่ไม่มีการสืบพยานให้ยื่นคำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยคำร้องดังกล่าวต้องเป็นคำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำผิดของจำเลยในคดีอาญาเท่านั้น จะเป็นคำขอบังคับอย่างอื่น  เช่น ร้องขอบังคับให้จำเลยรับบุตรของผู้เสียหายซึ่งถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเราเป็นบุตรไม่ได้และคำขอต้องไม่ขัดแย้งกับคำฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์
                   . ค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้องนั้นต้องมิได้เกิดจากการกระทำเพื่อชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี เช่น การล่อลวง ขู่เข็ญ สำคัญผิดในข้อเท็จจริง หรือมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้นด้วย อีกทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นต้องเกิดจากการกระทำของจำเลยในคดีอาญาที่ยื่นคำร้องขอด้วย
                   สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนที่สามารถร้องขอบังคับได้   ต้องเป็นความเสียหายที่ได้รับอันเนื่องมาจากเหตุที่ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่ ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย  ชื่อเสียง  หรือได้รับความเสียหายต่อทรัพย์สินเท่านั้น ไม่รวมถึงค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่ออนามัยด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สินนั้น เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นเห็นได้ชัดและสามารถตรวจสอบด้วยพยานหลักฐานได้ไม่ยาก แต่สำหรับความเสียหายต่ออนามัยนั้นการพิสูจน์ว่าได้รับอันตรายต่ออนามัยหรือไม่เป็นเรื่องที่ยากต่อการพิสูจน์ และอาจทำให้กระบวนการพิจารณาคดีอาญานั้นเป็นไปด้วยความล่าช้า

ตารางแสดงสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา


คดี

ผู้มีสิทธิเรียกร้อง
ฐานความผิด
ค่าเสียหาย
ข้อดี/ข้อเสีย
  . คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา (.๔๐)
ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาล
เฉพาะฐานความผิดที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
      ชีวิต  ร่างกาย  อนามัย
จิตใจ เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน

ข้อดี

-         สามารถเรียกร้องค่า
เสียหายได้ทุกฐานความผิดและเพื่อความเสียหายทุกประเภท

ข้อเสีย

-          ใช้ระยะเวลาการ
พิจารณายาวนาน
-          เสียค่าใช้จ่าย เช่น
ค่าธรรมเนียมศาล ค่าทนายความ  
   .อัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา  (.๔๓)
พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอต่อศาลไปพร้อมกับคำฟ้อง
ลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอก  รับของโจร
      เรียกทรัพย์สิน หรือราคาที่สูญเสียไปจากการกระทำผิด

ข้อเสีย

      -   จำกัดเฉพาะฐานความผิดและค่าเสียหายที่กฎหมายกำหนด
อัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา(.๔๔/)
ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอต่อศาลที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์
ฐานความผิดเกี่ยวกับ ชีวิต ร่างกาย จิตใจ เสรีภาพ  ชื่อเสียง ทรัพย์สิน
      ค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ ชีวิต  ร่างกาย  จิตใจ
เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือความเสียหายในทางทรัพย์สิน

ข้อดี

สามารถเรียกร้องค่า
เสียหายได้ครบทุกฐานความผิดและเพื่อความเสียหายทุกประเภท
-          ผู้เสียหายสามารถเรียก
ค่าเสียหายได้รวดเร็ว วิธีการไม่
ยุ่งยาก และไม่เสียค่าใช้จ่าย


                   หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนแนวทางใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๔/๑ ที่ได้กล่าวมานั้น มีเจตนารมณ์เพื่อมุ่งให้ความคุ้มครองแก่ผู้เสียหายในคดีอาญาสามารถใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่ตนได้รับในทางแพ่งไปพร้อมกับการดำเนินคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องทำให้ผู้เสียหายไม่ต้องเป็นโจทก์ฟ้องในคดีแพ่งอีก เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้เสียหายให้ได้รับการเยียวยาจากความเสียหายได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ยิ่งขึ้น.



[๑] ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา    ผู้เสียหาย หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา , และ
            [๒]  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๐  การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะฟ้องต่อศาล  ซึ่งพิจารณาคดีอาญาหรือต่อศาลที่มีอำนาจชำระคดีแพ่งก็ได้ การพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
            [๓]  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๓   คดีลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอกหรือรับของโจร ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย
                [๔]  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๓๘ วรรคสอง  อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้นได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิดหรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย
           
 [๕] ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา ๔๔/  ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะ
เรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียงหรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้
                การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องก่อนเริ่มสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการสืบพยานให้ยื่นคำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี และให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งนั้น ทั้งนี้ คำร้องดังกล่าวต้องแสดงรายละเอียดตามสมควรเกี่ยวกับความเสียหายและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง หากศาลเห็นว่าคำร้องนั้นยังขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 
   คำร้องตามวรรคหนึ่งจะมีคำขอประการอื่นที่มิใช่คำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญามิได้  และต้องไม่ขัดหรือแย้งกับคำฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ และในกรณีที่พนักงานอัยการได้ดำเนินการตามความในมาตรา ๔๓ แล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องตามวรรหนึ่งเพื่อเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์สินอีกไม่ได้
                [๖]  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้ () ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาเฉพาะแต่ในความผิดอาญา ซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้…”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น