วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แนวทางการลงโทษนักเรียน



                ปัจจุบันจะพบว่า  มีข่าวลงหนังสือพิมพ์ว่า ครูตีเด็กนักเรียน  ครูชกนักเรียน  จนได้รับบาดเจ็บ  ผู้ปกครองนำเด็กนักเรียนมาแจ้งความดำเนินคดีฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา  เป็นจำนวนมาก  ปัญหาที่ถกเถียงกันมาก คือ  ครู  อาจารย์มีหน้าที่อบรมสั่งสอนเด็กเพื่อให้มีความรู้และเป็น คนดีของสังคมมีอำนาจลงโทษด้วยการตีหรือเฆี่ยน เด็กนักเรียนหรือนักศึกษาหรือไม่การลงโทษนักเรียนก็ต้องเป็นตามกฏแนวทางของกฏกระทรวงและพรบ.การศึกษาแห่งชาติและกฎหมายอื่นๆที่กำหนดไว้ให้ทำได้ครับซึ่งมีผู้ที่เขียนบทความเรื่องแนวทางการลงโทษนักเรียนและได้รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องการลงโทษนักเรียนไว้ดังนี้ครับ

      
   ผู้เยาว์  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา  19,20  หมายถึง  บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ  คือ มีอายุ  ยังไม่ถึงยี่สิบปีบริบูรณ์  หรือมีการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย
         
อีกทั้งมาตรา  1566  ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังบัญญัติให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของบิดามารดาในอำนาจปกครองดังกล่าวยัง  หมายถึง  การมีสิทธิทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอนเช่น  ตีเพื่อว่ากล่าวสั่งสอนตามสมควรเท่านั้น  แต่จะเป็นการลงโทษรุนแรงเกินปกติวิสัยของการว่ากล่าว  สั่งสอนหรือเพราะอาฆาตโกรธแค้น ผิดปกติวิสัย  เช่น ใช้มีดฟัน   
เอาเตารีดนาบ  หรือมัดโยงขื่อ  เฆี่ยนด้วยหวาย  เป็นต้น          
การตีดังกล่าวนี้ บิดา  มารดา  ก็จะมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย  ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา  295,297  และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก  พ.ศ.2546  ที่บัญญัติว่าหากผู้ใดกระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก  ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน  หรือปรับไม่เกิน      สามหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ  (มาตรา  26,78) ดังนั้น  จะพบว่าความเป็นบิดา  มารดา  ของผู้เยาว์นั้นตามกฎหมายกำหนดให้อำนาจสามารถทำโทษบุตรผู้เยาว์ได้  ถ้าเป็นการตีที่ว่ากล่าวสั่งสอน
ส่วนครู หรืออาจารย์นั้น ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้มีอำนาจเหมือนบิดา มารดา  แต่การที่บิดา  มารดาส่งบุตรไปศึกษา     เล่าเรียนในโรงเรียน  ถือว่าบิดา มารดาได้มอบสิทธิในการทำโทษบุตรให้ครูบาอาจารย์ในโรงเรียนดังกล่าว  และ   ถือว่าบิดา  มารดาได้มอบสิทธิที่จะให้ครูบาอาจารย์ทำโทษบุตรตามวิธีการทำโทษตามปกติที่ใช้อยู่ในโรงเรียนนั้นๆ ด้วย  (ประสบสุข  บุญเดช : คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว  2543  หน้า  626)
โดยกระทรวงศึกษาธิการได้มีระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา  พ.ศ.2515  และ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 2)  พ.ศ.2522  ซึ่ง
ออกโดยอาศัยอำนาจของประกาศคณะปฏิวัติ
ฉบับที่  132  กำหนดวิธีการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา ที่ ประพฤติหรือฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ         ของสถานศึกษา  ให้ลงโทษตั้งแต่  ว่ากล่าวตักเตือน  เฆี่ยน  ทำทัณฑ์บนสั่งพักการเรียน  ให้ออกจนถึง    คัดชื่อออกสำหรับการเฆี่ยน  ให้เฆี่ยนด้วยไม้เรียว  เหลากลม  ผิวเรียบ  เส้นผ่าศูนย์กลาง                     ไม่เกิน  0.7  เซนติเมตร  ที่บริเวณก้นหรือขาอ่อนท่อนบนด้านหลัง  ซึ่งมีเครื่องแต่งกายรับรอง  กำหนด  การเฆี่ยนไม่เกิน  6  ที   การเฆี่ยนต้องทำในที่ไม่เปิดเผย  และในลักษณะเพื่อว่ากล่าวสั่งสอนให้เข็ดหลาบ
         
ต่อมาวันที่  1  พฤศจิกายน  2543  กระทรวงศึกษาธิการได้ปรับปรุงระเบียบว่าด้วยการลงโทษนักเรียน  หรือนักศึกษาใหม่  โดยโทษที่จะลงแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิดมี  5  สถาน       
1)
การว่ากล่าวตักเตือน  2) ทำกิจกรรม  3) ทำทัณฑ์บน  4) พักการเรียน  5) ให้ออก  (ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา  พ.ศ.2543)  และมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในปี พ.ศ.2548  กำหนดให้มีการลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาใหม่  คือ 1) ว่ากล่าวตักเตือน      
2)
ทำทัณฑ์บน     3) ตัดคะแนนความประพฤติ      4) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 
(
ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา  พ.ศ.2548)
         
ดังนั้น  การลงโทษของครูบาอาจารย์  ที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษา  ต้องเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา  จะไปลงโทษนอกเหนือจากระเบียบที่กำหนดไว้ไม่ได้  ถือว่าไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะทำได้
         
แต่ก่อนปี พ.ศ.2543  ครู  อาจารย์  สามารถลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่ทำผิดระเบียบได้โดยการเฆี่ยนตี  แต่การที่จะเฆี่ยนหรือตีต้องใช้ไม้เรียวเหลากลม  ผิวเรียบ  เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน  0.7  เซนติเมตร  และต้องตีบริเวณก้นหรือขาอ่อนท่อนบน  ด้านหลัง  ซึ่งมีเครื่องแต่งกายรับรองและให้ตีได้ไม่เกิน  6  ที

         
แต่ตั้งแต่วันที่  1  พฤศจิกายน  2543  ครูบาอาจารย์จึงไม่สามารถลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา   
โดยการตีหรือเฆี่ยนได้  เพราะขัดระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการที่เป็นระเบียบที่ให้อำนาจลงโทษได้ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้เท่านั้น  การที่จะลงโทษนอกเหนือจากที่กำหนดไว้  จึงไม่ชอบด้วยระเบียบปฏิบัติของทางราชการ  และไม่มีกฎหมายให้อำนาจ ดังเช่น  บิดา  มารดาของผู้เยาว์  แต่อย่างใด
         
การที่ครูบาอาจารย์  ตีนักเรียนหรือนักศึกษา  จนได้รับอันตรายแก่กายจึงไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิดหรือยกเว้นโทษ  ถ้านักเรียนหรือนักศึกษา  รวมทั้งผู้ปกครองมาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีก็จะมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ  ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา  295  หรือ  297  ก็ได้  ถ้านักเรียนได้รับบาดเจ็บสาหัส  ซึ่งเป็นความผิดกฎหมายอาญา
         
ดังนั้น  สำนวนไทยที่ว่า  รักวัวให้ผูก  รักลูกให้ตี”  จึงใช้ได้กับบิดา  มารดา  และบุตรเท่านั้น  แต่จะนำมาใช้กับครู  อาจารย์ กับนักเรียน  นักศึกษา  ไม่ได้ครับ  เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แจ้งว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ทำหนังสือแจ้งมายัง สพฐ.กรณีการลงโทษนักเรียนที่รุนแรงในสถานศึกษา โดยได้เสนอข้อคิดเห็น 4 ประเด็นดังนี้ 
1.
ควรสั่งการให้ทุกสถานศึกษา ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548 โดยเคร่งครัด และกำชับด้วยว่าหากไม่ปฏิบัติตามระเบียบฯ อาจจะได้รับโทษทางอาญา ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. 
2.
จัดทำประมวลกรณีการลงโทษของครู อาจารย์ที่ลงโทษนักเรียนนักศึกษาไม่เหมาะสม และเผยแพร่ให้ครูอาจารย์ได้รับทราบ และเข้าใจถึงการใช้ดุลพินิจในการลงโทษได้ อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
3.
การดำเนินการตามระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548 ข้อ 5 (4)       “ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหากครูอาจารย์จะลงโทษนักเรียน นักศึกษาด้วยการทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควรจะต้องนำกิจกรรมนั้นเสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนทุกครั้ง และหากมีการลงโทษนักเรียน นักศึกษา ที่รุนแรงเกินกว่าเหตุควร พิจารณาโทษผู้อำนวยการสถานศึกษานั้นด้วย ซึ่งเรื่องนี้เป็นกรณีที่ควรมีการกำชับไปยังสถานศึกษา เพื่อให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาได้ระมัดระวังมิให้ครู อาจารย์ลงโทษนักเรียนด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม 
4.
การพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่จะทำหน้าที่ครูให้มีคุณธรรมจริยธรรม และมีจิตสำนึกที่ดี จะต้องเป็นผู้ที่มีความเมตตาต่อเด็ก สร้างเด็ก ไม่ทำลายเด็ก และคิดวิธีการที่จะสร้างบุคลากรให้รู้จักวิธีคิด พูด  ทำ ด้วยความเมตตามากกว่าความรุนแรง เพราะครูมีอำนาจในมือ ทั้งนี้การลงโทษนักเรียน นักศึกษา    ต้องไม่ใช้วิธีการลงโทษที่ก่อให้เกิดปัญหาแก่เด็กนั้น มีจรรยาบรรณครู พ.ศ.2539 และเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา พ.ศ.2537 กำหนดใช้อยู่แล้ว ซึ่งเรื่องนี้ สพฐ.ควรมีการกำชับ ผู้ที่มีหน้าที่พิจารณาคัดเลือกบุคคลที่จะมาทำหน้าที่ครูได้ตระหนักในการพิจารณาดังกล่าวด้วย


ขอบคุณท่าน ดร.สมชาย  สังข์สี  ผู้อำนวยการโรงเรียนรวมราษฎร์สามัคคี สพท.ปทุมธานี เขต 2  รวบรวม นำเสนอ  
         

2 ความคิดเห็น: