วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

http://www.youtube.com/channel/UCpbZJFnEx-E1lC02PezHrEA
เมื่อชำระเบี้ยประกันไปแล้ว  จะขอเงินคืนอย่างไร จึงจะได้ประโยชน์สูงสุด
ช่วงนี้มีข่าวเกี่ยวกับความมั่นคงของสถาบันการเงินอย่าง AIG  ทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนลดน้อยลงแห่กันไปยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิต  ทนายคลายทุกข์จึงหาข้อมูลเกี่ยวกับถ้าต้องการขอเงินคืน  แต่ชำระเบี้ยประกันไปแล้ว ต้องทำอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด

สามารถใช้วิธีเวนคืนเงินสด
 วิธีนี้ผู้ทำประกัน   ปิดกรมธรรม์   ไม่ส่งเบี้ยประกันแล้ว สัญญาคุ้มครองต่างๆสิ้นสุดเงินสดที่ได้รับคืน จะมากขึ้นเรื่อยๆตามปีที่ส่งเบี้ยประกัน
วิธีคิดจำนวนเงินที่รับคืน
ทุนประกัน คูณด้วยมูลค่าเวนคืนเงินสดหารด้วย1000

สามารถใช้วิธีใช้เงินสำเร็จ
วิธีนี้ผู้ทำประกันหยุดส่งเบี้ยประกัน  ความคุ้มครองเกิด
จะมีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตระหว่างอายุกรมธรรม์ที่เหลือจะได้รับเงิน ตามตารางที่กำหนดไว้ ยิ่งนานได้รับคืนมากขึ้น
วิธีคิดจำนวนเงินที่รับคืน
ทุนประกัน คูณด้วยมูลค่าใช้เงินสำเร็จหารด้วย1000

สามารถใช้วิธีขยายเวลา
วิธีนี้ผู้ทำประกัน หยุดส่งเบี้ยประกันได้ประโยชน์สูงสุดในด้านการคุ้มครอง
วิธีที่1 หากเสียชีวิตในช่วงขยายเวลา จ่ายตามทุนประกันเดิม มีชีวิตอยู่ครบช่วงขยายเวลา ไม่ได้รับอะไร
วิธีที่2 หากเสียชีวิตในช่วงขยายเวลา จ่ายตามทุนประกันเดิม
มีชีวิตอยู่ครบช่วงขยายเวลา ได้รับเงินสะสมเมื่อครบสัญญา
วิธีคิดจำนวนเงินที่รับคืน
ทุนประกัน คูณด้วยมูลค่าเงินสะสมหารด้วย1000

ผู้ได้รับผลประโยชน์
สามี ภรรยา(ทำให้กันได้ทั้งสองฝ่าย บิดา มารดา  กับ บุตร (ทำให้กันได้ทั้งสองฝ่าย)

บุคคลที่ทำสัญญาได้
บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว(มีอายุ 20 ปี บริบูรณ์) โดยการสมรสเมื่อมีอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์  ผู้เยาว์ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครอง

ข้อยกเว้นที่บริษัทประกันไม่ต้องจ่ายผลประโยชน์
ฆ่าตัวตายภายใน 1 ปีหลังจากทำประกัน   ถูกผู้รับผลประโยชน์ฆ่าตาย  สัญญาเป็นโมฆียะ

ผลประโยชน์อื่นๆ จากการทำประกันชีวิต
สามารถนำไป หักลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 50,000 บาท
(ต้องตรวจดูให้ละเอียดว่า อายุกรมกรมธรรม์ต้อง 10 ปีขึ้นไป
เบี้ยประกันที่ส่งตลอดปีภาษี จึงจะนำไปหักลดหย่อนได้)
นำกรมธรรม์ ไปใช้ค้ำประกันการกู้เงิน
นำกรมธรรม์ ไปใช้ประกันผู้ต้องหาได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  www.tahitech.com เพื่อประกอบข้อมูลสาธารณะ
สิทธิที่จะไม่ให้ถ้อยคำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง

                ในชั้นสอบสวน สิทธิของบุคคลที่จะไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเองบัญญัติไว้ในมาตรา  ๒๓๔  แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยหลักกการคุ้มครองพยานบุคคลที่จะไม่ให้ถ้อยคำที่ทำให้ตนเองถูกฟ้องคดีอาญา อันเป็นหลักกฎหมายที่นำมาใช้ทั้งในการให้การของบุคคลในชั้นศาลและในกรณีบุคคลที่มาให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานในชั้นสอบสวนตามมาตรา ๑๓๓  วรรคสองด้วย ซึ่งสอดคล้องกับหลักที่ว่าบุคคลมีสิทธิที่จะไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๐(๔๐)
                อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่ควรแก่การพิจารณาว่า หลักที่ให้สิทธิบุคคลที่จะไม่ตอบคำถามที่เป็นปฏิปักษ์ต่อตัวเขาเองนั้น เห็นกันว่าต้องแยกออกจากสิทธิที่จะนิ่งเฉย(Right to Remain Silent) ไม่ให้การใดๆที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่มีการกล่าวหาในคดีนั้นเลย ซึ่งเป็นสิทธิที่กฎหมายให้ความคุ้มครองแก่เฉพาะผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา ไม่รวมถึงบุคคลอื่นๆที่จะใช้สิทธิในลักษณะเด็ดขาดดังกล่าว ดังนั้น บุคคลทั่วไปที่ยังไม่ตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย หรือไม่อยู่ในฐานะที่จะได้รับเอกสิทธิ์ที่จะไม่ตอบคำถามใดๆคงมีสิทธิเพียงไม่ต้องตอบคำถามที่อาจทำให้ตนถูกฟ้องเป็นคดีอาญาเท่านั้น จะถึงกับปฏิเสธที่จะตอบคำถามใดๆเลยไม่ได้
            ในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งให้ความสำคัญกับหลักความยุติธรรมนี้เป็นอย่างมาก ถึงกับจัดว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลที่สำคัญประการหนึ่ง จึงมีการนำมาบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาในบทแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 (fifth Amendment) ซึ่งในระบบกฎหมายอเมริกันเรียกว่า เอกสิทธิ์ที่จะไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง (Privilege against self-incrimination ) โดยหลักการทั่วไปสิทธิประการนี้มุ่งที่จะไม่ให้มีการใช้อำนาจสอบสวนของเจ้าพนักงานไปในทางละเมิดสิทธิของของบุคคลที่จะไม่ต้องตอบคำถามหรือให้หลักฐานใดๆที่อาจทำให้เขาถูกฟ้องได้รับโทษหรือถูกยึดทรัพย์ และเพื่อคุ้มครองสิทธิดังกล่าวได้อย่างมั่นคงการที่บุคคลที่ถูกสอบปากคำจะต้องมีโอกาสปรึกษาทนายความหรือได้มีการแจ้งเตือนให้ทราบถึงผลร้ายที่จะมีต่อเขาในการดำเนินคดีอาญาและสิทธิที่จะไม่ให้ถ้อยคำใดๆอันเป็นหลักกฎหมายที่มาจากคำพิพากษาของศาลสูงสหรัฐอเมริกาในคดีมิแรนดา (Miranda v. Arizona) และมีผลอย่างยิ่งต่อการคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา
            อนึ่ง สิทธิที่จะไม่ตอบคำถามที่อาจทำให้พยานถูกฟ้องคดีอาญาย่อมคุ้มครองเฉพะตัวบุคคลที่เป็นผู้ให้ถ้อยคำเท่านั้นทำให้มีข้อพิจารณาต่อไปว่าหากบุคคลจะอ้างสิทธิไม่ตอบคำถามแก่เจ้าพนักงานในการสอบสวนคดีอาญา โดยอ้างผลกระทบอื่นนอกเหนือกรณีที่จะต้องถูกฟ้องคดีอาญาได้หรือไม่ โดยเฉพาะประเด็นที่จะเป็นผลร้ายแก่บุคคลในครอบครัว เช่น บุพการี คู่สมรส หรือลูกหลานผู้สืบสันดาน ในประเด็นนี้แม้ไม่มีการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความโดยเฉพาะแต่เนื่องจากบุคคลที่เจ้าพนักงานเรียกมาให้ถ้อยคำมีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมซึ่งเป็นหลักการทั่วไปที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองไว้ บุคคลที่มาให้ถ้อยคำย่อมได้รับการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเขา ซึ่งรัฐธรรมนูญไทยได้ให้การรับรองไว้ในมาตรา ๔ มาตรา  ๒๖  และมาตรา ๒๘ ดังนั้น  นอกจากเจ้าพนักงานจะต้องไม่กระทำการในทางมิชอบต่อร่างการและจิตใจของบุคคลโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการข่มขู่ บังคับ หรือใช้วิธีการทรมาน เพื่อให้บุคคลนั้นให้ถ้อยคำแล้ว ยังจะต้องคำนึงถึงผลกระทบในทางมโนธรรมที่บุคคลในสภาวะเช่นนั้นพึงได้รับการคุ้มครองอยู่ด้วย ดังนั้น การที่บุคคลจะอ้างเหตุความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น พยานมีความสัมพันธ์เป็นบุตรหรือคู่สมรส หรือเป็นบิดามารดาของผู้ต้องหา บุคคลนั้นอาจอ้างเหตุที่จะไม่ตอบคำถามของเจ้าพนักงานซึ่งอาจเป็นผลร้ายต่อผู้ต้องหาซึ่งเป็นบุคคลในครอบครัว  จึงสอดคล้องกับหลักการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในบริบทของสังคมไทย


                การรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
                                กระบวนการยุติธรรมทางอาญา เป็นการใช้อำนาจรัฐเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและเอาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ขั้นตอนหรือกระบวนการต่างๆในการดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในสังคม กระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ดีมิใช่จะเพียงแต่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคมเท่านั้น แต่ยังต้องมีมาตรการในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเช่น ผู้ต้อง จำเลย ผู้เสียหาย พยานด้วย ความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลมีพื้นฐานมาจากแนวคิดที่ว่าบุคคลเกิดมาพร้อมกับศักดิ์และสิทธิในความเป็นมนุษย์อันมิอาจถูกลิดรอนได้และย่อมมีความชอบธรรมในสิทธิที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเสมอภาคและมีศักดิ์ศรี
            การให้ความเคารพและคุ้มครองสิทธิสรีภาพของบุคคลเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้หลักนิติธรรมซึ่งหมายถึงการปกครองที่มีกฎหมายเป็นใหญ่ หลักดังกล่าวนี้รัฐเองก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเช่นเดียวกับประชาชน ดังนั้นนอกเหนือจากรัฐจะมีหน้าที่ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมแล้ว รัฐยังมีหน้าที่ต้องเคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามกฎหมายและภารกิจที่จะต้องให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกล่วงละเมิดโดยบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือโดยบุคคลหรือองค์กรของรัฐเอง รัฐมีกระบวนการยุติธรรมเป็นกลไกหลักในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมขณะเดียวกันก็มีหน้าที่โดยตรงในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนด้วย ในการดำเนินภารกิจดังกล่าวได้อย่างมีคุณภาพจึงต้องเริ่มจากการที่กระบวนการยุติธรรมต้องไม่เป็นกระบวนการที่ไปคุกคามหรือล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเสียเอง และด้วยเหตุที่รัฐมีหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการที่อาจกระต่อสิทธิของหลายฝ่ายทั้งผู้ต้องหา จำเลย พยาน และผู้เสียหาย
                ดังนั้น กระบวนการยุติธรรมที่ดีจึงต้องสร้างหลักประกันที่เหมาะสมในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมิให้ถูกล่วงละเมิดโดยคำนึงถึงความสมดุลของหลักการควบคุมอาชญากรรม( Crime Control) กับหลักนิติธรรม (Due Process) แนวคิดในเรื่องการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนดังกล่าวข้างต้นมีที่มาจากหลักนิติรัฐถือว่าการกระทำใดๆของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ไปกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจะต้องมีกฎหมายให้อำนาจไว้ การกระทำใดๆของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายย่อมไม่อาจใช้ยันหรือกล่าวอ้างในกระบวนการยุติธรรมได้ แม้ว่ากระบวนการยุติธรรมทางอาญาจะมีวัตถุประสงค์เพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษอันเป็นระโยชน์ของรัฐก็ตามแต่ก็มิได้หมายความว่าในการดำเนินการเพื่อค้นหาความจริงดังกล่าวรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะกระทำได้ทุกวิถีทางโดยไม่คำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในสังคม ในบางประเทศมีบทลงโทษรัฐในกรณีที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่เกินกว่าอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายหรือไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยพยานหลักฐานใดที่ได้มาจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐอันมิชอบด้วยกฎหมายนั้น ศาลจะไม่รับฟังพยานหลักฐานดังกล่าว ดังนั้นกระบวนการในการค้นหาความจริงในคดีอาญาจึงต้องคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศด้วย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ อันเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันก็ได้มีการวางหลักคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลอันอาจถูกกระทบจากการแสวงหาและรวบรวมพยานหลักฐานของเจ้าหน้าที่รัฐ ดังนี้
                รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้บัญญัติรับรองคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในชีวิต ร่างกายในมาตรา ๓๒ ที่บัญญัติว่า
                มาตรา ๓๒ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
                การทรมาน ทารุณกรรม...ด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้... 
                การจับ และการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะมีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
            การค้นตัวบุคคล หรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ
            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้บัญญัติรับรองคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในเคหสถานตามมาตรา ๓๓ ที่บัญญัติว่า
            มาตรา ๓๓ บุคคลย่อมมีสเรีภาพในเคหสถาน
                บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการที่จะอยู่อาศัยและครอบครองเคหสถานโดยปกติสุข
                การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการตรวจค้นเคหสถานจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้บัญญัติหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในการติดต่อสื่อสารไว้ดังนี้คือ
                มาตรา ๓๕ บัญญัติว่า สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัว ย่อมได้รับความคุ้มครอง...
                บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
            มาตรา ๓๖ บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย
                การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน รวมทั้งการกระทำด้วยประการอื่นใด เพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมีติดต่อกันจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

            ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ จึงเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลที่สำคัญประการหนึ่งที่รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศได้ให้การรับรองและคุ้มครองไว้โดยผู้ใดจะมาล่วงละเมิดมิได้ หากเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ใช้วิธีการแสวงหาพยานหลักฐานด้วยวิธีการโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรรมนูญนี้ พยานหลักฐษนหรือสิ่งที่ได้มาจากการกระทำโดยมิชอบนั้นจะรับฟังได้หรือไม่เพียงใด เหล่านี้เป็นสิ่งที่จะได้กล่าวโดยละเอียดต่อไป
หลักผลไม้ของต้นไม้ที่เป็นพิษ( Fruit of the Poisonous Tree Doctrine)
            ในหลักการไม่รับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบ( exclusionary rule)  ของประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้มีการพัฒนาก้าวไกลไปถึงการขยายขอบเขตที่ศาลจะไม่รับฟังดอกผลที่ได้มาจากพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบนั้นด้วย โดยถ้าวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานกระทำการจับ ค้น หรือยึดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ศาลก็จะไม่ยอมฟังพยานหลักฐานที่ได้มา เช่น เจ้าพนักงานค้นบ้าน ก. โดยที่ไม่มีหมายในกรณีที่ต้องมีหมาย และได้พบหรือยึดบันทึกส่วนตัวซึ่งระบุว่า ก. ทำร้าย ข.และเอาปืนของกลางไปซ่อนไว้ที่กลางทุ่งนาศาลจะรับฟังบันทึกดังกล่าวเป็นพยานเอกสารยันต่อ ก. มิได้ ส่วนปืนของกลางก็จะรับฟังมิได้เช่นเดียวกันเพราะถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาจากพยานชิ้นแรก (derivative evidence) ที่เสียไป ตรงตามหลักที่ศาลสหรัฐอเมริกาเรียกว่า ผลไม้ของต้นไม้ที่เป็นพิษ( Fruit of the Poisonous Tree) กล่าวคือ เมื่อต้นไม้เกิดเป็นพิษขึ้นผลของต้นไม้นั้นก็ย่อมจะเป็นพิษตามไปด้วย
                การที่ศาลได้วางหลักขยายขอบเขตของพยานหลักฐานที่ศาลจะไม่รับฟังดอกผลที่ได้มาจากพยานหลักฐานชิ้นแรกที่ได้มาโดยมิชอบในคดี  Silverthome Lumber Co.v.United State โดยศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาได้วินิจฉัยว่า นอกจากพยานหลักฐานที่ได้มาโดยตรงจากการค้นโดยมิชอบจะรับฟังไม่ได้แล้ว พยานหลักฐานอื่นๆที่สืบเนื่องมาจากพยานหลักฐานที่ได้มาจากการค้นโดยมิชอบนั้นก็รับฟังไม่ได้เช่นเดียวกัน กล่าวคือ ศาลได้ขยายหลักการไม่รับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบนี้ออกไปครอบคลุมถึง
ดอกผลของพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบนั้นด้วย โดยถือว่าพยานชิ้นหลังเป็นผลไม้ของต้นไม้ที่เป็นพิษ
คือพยานชิ้นแรก ซึ่งถือว่าเป็นการได้มาซึ่งพยานหลักฐานอย่างหนึ่งอันฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ หรือในคดี
Nardone v. United States ที่ได้ให้เหตุผลว่า เหตุที่ไม่ยอมรับฟังปืนของกลางก็เพื่อมุ่งหวังที่จะยับยั้งมิให้เจ้าพนักงานกระทำการอันมิชอบ เพราะถ้าเจ้าพนักงานตระหนักดีว่า การกระทำโดยมิชอบของตนจะมีผลให้พยานหลักฐานทุกๆชิ้นที่ได้มารับฟังไม่ได้หมดแล้ว เจ้าพนักงานอาจไม่กล้ากระทำการเช่นนั้นอีก ถ้าจะไม่รับฟังเฉพาะพยาน
ชิ้นแรกแต่ยอมให้รับฟังพยานชิ้นต่อๆมาได้ ก็อาจจะไม่มีผลเป็นการยับยั้งอย่างเต็มที่ เพื่อมิให้เจ้าพนักงานกระทำการอันมิชอบได้
                ในคดี Wong Sun v.United States สายลับซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการสืบสวนผู้กระทำผิดเกี่ยวกับคดียาเสพติดจำนวน ๖ คน ได้เข้าในร้านให้บริการซักเสื้อผ้าของ Toy เพื่อหาตัว Toy โดยเข้าไปภายในเขตที่เป็นที่อยู่อาศัยด้านหลังร้านและเป็นที่หลับนอนของภริยาและลูกของ Toy เจ้าหน้าที่พบตัว Toy และได้ใส่กุญแจมือ Toy จึงบอกกับเจ้าหน้าที่ว่า Yee เป็นผู้ค้ายาเสพติด เจ้าหน้าที่จึงไปพบ Yee  ในทันที และ Yee  ยอมมอบเฮโรอีนให้กับเจ้าหน้าที่และให้การนำไปสู่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้าเฮโรอีนด้วยคือ Toy และ Wong Sun ซึ่งเป็นบุคคลที่สาม ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาถือว่า คำให้การของ Toy  ที่อยู่ระหว่างการใส่กุญแจมือในห้องนอน และยาเสพติดที่ได้จาก Yee ซึ่งได้เพราะคำให้การของ Toy นั้นต้องเป็นพยานหลักฐานที่ถูก
ตัดออกไปไม่สามารถรับฟังได้เนื่องจากถือเป็นผลที่ได้มาจากการเข้าไปในห้องนอนของ
Toy โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

                ในคดี Brewer v.Williams  พนักงานสอบสวนปฏิเสธไม่ให้ผู้ต้องหาพบทนายความ  ต่อมาผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ การรับสารภาพนั้นนำไปสู่การค้นพบศพผู้ตาย ทั้งคำรับสารภาพและศพผู้ตายล้วน
เป็นพยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้ในคดี
การใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายในคดีอาญา

 


                  
                   หากท่านติดตามข่าวสารทางสื่อต่างๆไม่ว่าจะเป็น หนังสือพิมพ์   วิทยุ   โทรทัศน์
จะพบว่าในแต่ละวันจะมีข่าวอาชญากรรม  และการกระทำความผิดทางอาญาเกิดขึ้นแทบจะทุกวัน
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เคราะห์ร้ายผู้ตกเป็นเหยื่อแห่งผลของการกระทำนั้น ซึ่งกฎหมายเรียกว่า ผู้เสียหาย[๑] และรัฐมีหน้าที่ต้องนำตัว      ผู้กระทำผิดมาลงโทษเพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง โทษตามประมวลกฎหมายอาญาที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิด มี  ประเภท  คือ ประหารชีวิต  จำคุก  กักขัง ปรับ  และ ริบทรัพย์สิน นอกจากการลงโทษทางอาญาแก่ผู้กระทำผิดแล้ว ผู้เสียหายยังมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่งที่ตนได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดอาญาอีกด้วย  ก่อนวันที่ ๓๑  ธันวาคม  ๒๕๔๘  กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางในการเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งจากการกระทำความผิดอาญาไว้    แนวทาง  คือ
                   แนวทางที่ . คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ผู้เสียหายจะฟ้องร้องต่อศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาหรือต่อศาลที่มีอำนาจชำระคดีแพ่งก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (.วิ..) มาตรา ๔๐[๒]  
                   แนวทางที่  .   คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์เรียกทรัพย์สิน หรือ ราคา แทน
ผู้เสียหาย  ในฐานความผิด ๙ ฐาน  คือ  ลักทรัพย์  วิ่งราว  ชิงทรัพย์  ปล้นทรัพย์  โจรสลัด  กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอก หรือรับของโจร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (.วิ..)มาตรา ๔๓[๓] 

                   เนื่องจากแนวทางทั้ง  ๒  ประการข้างต้น  ยังไม่สามารถบรรเทาความเดือดร้อน
เสียหายแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิดหรือผู้เสียหายได้ เพราะมีข้อจำกัดบางประการ เช่น  กรณีการใช้สิทธิฟ้องร้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม  ป.วิ.มาตรา  ๔๐  ผู้เสียหายต้องรับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ เพิ่มขึ้น  เช่น  ค่าทนายความ  ค่าธรรมเนียมศาล อีกทั้งการพิจารณาคดีต้องใช้เวลาในการพิจารณายาวนาน ผู้เสียหายอาจไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหายได้ทันท่วงที  หรือ กรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.. มาตรา ๔๓ กฎหมายกำหนดให้อัยการเรียกร้องค่าเสียหายที่เป็นทรัพย์สินหรือราคาที่สูญเสียไปจากการกระทำความผิดโดยตรงเท่านั้น  จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายอย่างอื่น  เช่น  ดอกเบี้ย    ค่าแรงงาน  ค่าจ้าง  ไม่ได้ เพราะกฎหมายถือว่าค่าเสียหายดังกล่าวมิใช่ทรัพย์หรือราคาที่สูญเสียไปจากการกระทำผิด  หากผู้เสียหายต้องการเรียกร้องเอาค่าเสียหายดังกล่าวคืนต้องไปฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาตาม ป.วิ..มาตรา ๔๐ ต่อไป  อีกทั้งฐานความผิดที่กฎหมายให้อำนาจแก่พนักงานอัยการเรียกเอาทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายก็กำหนดไว้เพียง ๙ ฐานความผิด  เท่านั้นหากเป็นความผิดฐานอื่นนอกจากนี้แล้วพนักงานอัยการไม่สามารถเรียกร้องแทนผู้เสียหายได้
                   อย่างไรก็ดีความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับในคดีอาญามิได้จำกัดเฉพาะฐานความผิดตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.. มาตรา ๔๓ เท่านั้น และความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับมิได้เป็นเรื่องทรัพย์สินเท่านั้น  เพราะยังมีความผิดและความเสียหายเพราะเหตุได้รับอันตรายต่อ  ชีวิต  ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงและทรัพย์สินอีกหลายฐานความผิดที่ผู้เสียหายควรได้รับการเยียวยา ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเฉพาะให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เขาสูญเสียไปโดยตรงเท่านั้น แม้ผู้เสียหายจะมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๐ ประกอบมาตรา ๔๓๘[๔] ก็ตาม ผู้เสียหายต้องไปยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งต่างหากทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีและได้รับการเยียวยาล่าช้า
                   เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นนับแต่วันที่  ๓๑   ธันวาคม  ๒๕๔๘   เป็นต้นไป ผู้เสียหายสามารถยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาทุกฐานความผิดบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เป็นผลจากการกระทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่ ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง และทรัพย์สิน ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สำคัญตาม มาตรา ๔๔/[๕]  ดังนี้
                   ผู้เสียหายที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
แก่ตนได้ต้องเป็นคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์หรือคดีที่ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการเท่านั้น หากเป็นกรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองตาม ป.วิ.. มาตรา ๒๘ () ผู้เสียหายไม่สามารถยื่นคำร้องตามมาตรา ๔๔/๑ ได้ ทั้งนี้เนื่องจากหากผู้เสียหายยื่นฟ้องคดีเองย่อมมีอำนาจร้องขอบังคับให้ชดใช้ตามมาตรา ๔๐ ได้อยู่แล้ว ในกรณีผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.. มาตรา ๕ ()[๖] แม้จะมีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เสียหายได้ ถ้าไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนก็ไม่สามารถยื่นคำร้องขอต่อศาลได้ เช่นกัน
                   . คำร้องขอค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.. มาตรา ๔๔/๑ สามารถยื่นต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญา ก่อนเริ่มทำการสืบพยาน หรือในกรณีที่ไม่มีการสืบพยานให้ยื่นคำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยคำร้องดังกล่าวต้องเป็นคำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำผิดของจำเลยในคดีอาญาเท่านั้น จะเป็นคำขอบังคับอย่างอื่น  เช่น ร้องขอบังคับให้จำเลยรับบุตรของผู้เสียหายซึ่งถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเราเป็นบุตรไม่ได้และคำขอต้องไม่ขัดแย้งกับคำฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์
                   . ค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้องนั้นต้องมิได้เกิดจากการกระทำเพื่อชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี เช่น การล่อลวง ขู่เข็ญ สำคัญผิดในข้อเท็จจริง หรือมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้นด้วย อีกทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นต้องเกิดจากการกระทำของจำเลยในคดีอาญาที่ยื่นคำร้องขอด้วย
                   สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนที่สามารถร้องขอบังคับได้   ต้องเป็นความเสียหายที่ได้รับอันเนื่องมาจากเหตุที่ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่ ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย  ชื่อเสียง  หรือได้รับความเสียหายต่อทรัพย์สินเท่านั้น ไม่รวมถึงค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่ออนามัยด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สินนั้น เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นเห็นได้ชัดและสามารถตรวจสอบด้วยพยานหลักฐานได้ไม่ยาก แต่สำหรับความเสียหายต่ออนามัยนั้นการพิสูจน์ว่าได้รับอันตรายต่ออนามัยหรือไม่เป็นเรื่องที่ยากต่อการพิสูจน์ และอาจทำให้กระบวนการพิจารณาคดีอาญานั้นเป็นไปด้วยความล่าช้า

ตารางแสดงสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหายในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา


คดี

ผู้มีสิทธิเรียกร้อง
ฐานความผิด
ค่าเสียหาย
ข้อดี/ข้อเสีย
  . คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา (.๔๐)
ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาล
เฉพาะฐานความผิดที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
      ชีวิต  ร่างกาย  อนามัย
จิตใจ เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน

ข้อดี

-         สามารถเรียกร้องค่า
เสียหายได้ทุกฐานความผิดและเพื่อความเสียหายทุกประเภท

ข้อเสีย

-          ใช้ระยะเวลาการ
พิจารณายาวนาน
-          เสียค่าใช้จ่าย เช่น
ค่าธรรมเนียมศาล ค่าทนายความ  
   .อัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา  (.๔๓)
พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอต่อศาลไปพร้อมกับคำฟ้อง
ลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอก  รับของโจร
      เรียกทรัพย์สิน หรือราคาที่สูญเสียไปจากการกระทำผิด

ข้อเสีย

      -   จำกัดเฉพาะฐานความผิดและค่าเสียหายที่กฎหมายกำหนด
อัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา(.๔๔/)
ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอต่อศาลที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์
ฐานความผิดเกี่ยวกับ ชีวิต ร่างกาย จิตใจ เสรีภาพ  ชื่อเสียง ทรัพย์สิน
      ค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ ชีวิต  ร่างกาย  จิตใจ
เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือความเสียหายในทางทรัพย์สิน

ข้อดี

สามารถเรียกร้องค่า
เสียหายได้ครบทุกฐานความผิดและเพื่อความเสียหายทุกประเภท
-          ผู้เสียหายสามารถเรียก
ค่าเสียหายได้รวดเร็ว วิธีการไม่
ยุ่งยาก และไม่เสียค่าใช้จ่าย


                   หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการยื่นคำร้องขอค่าสินไหมทดแทนแนวทางใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๔/๑ ที่ได้กล่าวมานั้น มีเจตนารมณ์เพื่อมุ่งให้ความคุ้มครองแก่ผู้เสียหายในคดีอาญาสามารถใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่ตนได้รับในทางแพ่งไปพร้อมกับการดำเนินคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องทำให้ผู้เสียหายไม่ต้องเป็นโจทก์ฟ้องในคดีแพ่งอีก เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้เสียหายให้ได้รับการเยียวยาจากความเสียหายได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ยิ่งขึ้น.



[๑] ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา    ผู้เสียหาย หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา , และ
            [๒]  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๐  การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะฟ้องต่อศาล  ซึ่งพิจารณาคดีอาญาหรือต่อศาลที่มีอำนาจชำระคดีแพ่งก็ได้ การพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
            [๓]  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๓   คดีลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอกหรือรับของโจร ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย
                [๔]  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๓๘ วรรคสอง  อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้นได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิดหรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย
           
 [๕] ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา ๔๔/  ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะ
เรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียงหรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้
                การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องก่อนเริ่มสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการสืบพยานให้ยื่นคำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี และให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และผู้เสียหายอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งนั้น ทั้งนี้ คำร้องดังกล่าวต้องแสดงรายละเอียดตามสมควรเกี่ยวกับความเสียหายและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง หากศาลเห็นว่าคำร้องนั้นยังขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 
   คำร้องตามวรรคหนึ่งจะมีคำขอประการอื่นที่มิใช่คำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญามิได้  และต้องไม่ขัดหรือแย้งกับคำฟ้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ และในกรณีที่พนักงานอัยการได้ดำเนินการตามความในมาตรา ๔๓ แล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องตามวรรหนึ่งเพื่อเรียกทรัพย์สินหรือราคาทรัพย์สินอีกไม่ได้
                [๖]  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้ () ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาเฉพาะแต่ในความผิดอาญา ซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้…”